คติความเชื่อเกี่ยวกับขนม ผลไม้ และกับข้าวในงานแต่งงาน


ผลไม้ในขบวนขันหมาก : ผลไม้ที่ใช้นิยมจัดเป็นคู่ๆ โดยนำกระดาษแดงมาแปะหรือประดับให้สวยงาม ซึ่งผลไม้นั้นมีหลายอย่าง แตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ ส่วนมากจะใช้ มะพร้าวอ่อน ส้มโอ กล้วยทั้งหวี ฯลฯ

คติความเชื่อเกี่ยวกับขนม ผลไม้ และกับข้าวในงานแต่งงาน :
มีคติความเชื่อหลายอย่างเกี่ยวกับอาหารที่ใช้เลี้ยงพระ และรับรองแขกในงานแต่งงาน ซึ่งในสมัยโบราณ นิยมทำกันเอง เช่น

      ขนมจีน การทำถือเคล็ดว่า ควรทำให้เป็นจับใหญ่และสวยไม่ขาดรุ่ย หายโรยแป้งขนมจีนลงไปในน้ำร้อน ถ้าตักขึ้นมามีลักษณะเปื่อยเป็นลูกกบไม่เป็นเส้น หรือเป็นเส้นแต่เปื่อยซุยเอามาล้าง แล้วขาดหมดจับเป็นลูก หรือเป็นจับ ๆ ไม่ได้ เชื่อกันว่าคู่บ่าวสาวจะอยู่ครองรักกันไม่ยืด

      แต่ถ้าโรยแป้งทำเป็นเส้นขนมจีนในน้ำร้อนแล้วเส้นไม่ขาดไม่แป้ว เมื่อนำมาทำเป็นจับมีเส้นเรียบร้อยสวยงาม เชื่อกันว่าเป็นนิมิตดี คู่บ่าวสาวจะอยู่ครองรักกันยืดยาวจนมีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง

      ขนมฝอยทอง ก็ถือเคล็ดเช่นเดียวกับขนมจีนที่เป็นอาหารคาว คือต้องทำให้เป็นเส้นยาวสมบูรณ์ จับเป็นแพได้สวยงาม

      ส่วนขนมอื่น ๆ มีการถือเคล็ดเกี่ยวกับเรื่องชื่อ เช่น ขนมทองหยิบ ทองหยอด รวมทั้งฝอยทอง ขนมชั้น ขนมหม้อแกง ฯลฯ ล้วนมีชื่อเรียกอันเป็นมงคลทั้งสิ้น

      สำหรับขนมและกับข้าวที่ไม่นิยมทำในวันแต่งงานก็มี เช่น ไม่นิยมทำแกงบวด ต้มยำ และต้มผัก เพราะถือเคล็ด เรื่องชื่อเรียกซึ่งฟังดูแล้วไม่เป็นมงคล

      นอกจากนี้ในบางท้องถิ่นยังไม่นิยมของประเภทหมักดอง อันได้แก่ ปลาร้าปลาเจ่า เพราะเกรงจะเกิด การเหม็นเปรี้ยวเหม็นโอ่

      อาหารคาวอีกชนิดหนึ่งที่ไม่นิยมทำคือข้าวต้ม เพราะตามปกติจะใช้เลี้ยงแขกในงานศพ และในงานแต่งงาน ทุกคนจะพยายามไม่ให้เกิดการทะเลาะวิวาท หรือทำข้าวของแตกหกเสียหาย เพราะถือว่าเป็นลางไม่ดี หากเห็นใคร ทำของแตกตกเสียหาย ท่านห้ามไม่ให้ทักหรือพูดถึง ให้ทำเฉย ๆ ไว้ แล้วรีบนำของที่แตกร้าว หรือตกหล่น หกเสียหาย นั้นออกไปให้พ้นจากบริเวณงาน เป็นการแก้เคล็ด
ที่มา : thaitopwedding.com

บทความที่น่าสนใจ

กลับขึ้นด้านบน

Thaiza update: