ฟอสซิลตัวอ่อนไดโนเสาร์ล้านปี เผยความเชื่อมโยงกับสัตว์ปีกยุคปัจจุบัน
956
ทีมนักวิทยาศาสตร์ในจีนประกาศข่าวการค้นพบ "ฟอสซิลตัวอ่อนไดโนเสาร์" ในสภาพสมบูรณ์ อยู่ในลักษณะเตรียมฟักออกจากไข่
ภาพ China Xinhua News
ทีมนักวิทยาศาสตร์ในจีนประกาศข่าวการค้นพบ "ฟอสซิลตัวอ่อนไดโนเสาร์" ในสภาพสมบูรณ์ อยู่ในลักษณะเตรียมฟักออกจากไข่เหมือนกับไก่ โดยผลการศึกษาของคณะนักบรรพชีวินวิทยานานาชาติ เผยว่า นี่ถือเป็นหลักฐานเพิ่มเติมที่สนับสนุนแนวคิดที่ว่า สัตว์ปีกยุคใหม่มีวิวัฒนาการมาจากไดโนเสาร์
ซากฟอสซิลตัวอ่อนไดโนเสาร์นี้ถูกค้นพบในก้อนหินทางตะวันออกของจีนเมื่อราวปี 2000 และถูกนำมาเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติหินอิงเหลียง ในมณฑลฝูเจี้ยน โดยทีมนักวิจัยประเมินว่ามันมีอายุอย่างน้อย 66 ล้านปี มีความยาวตั้งแต่หัวถึงหาง 27 ซม. และนอนอยู่ในไข่ยาว 17 ซม. เชื่อกันว่ามันคือได้โนเสาร์เทโรพอดไร้ฟัน หรือ "โอวิแรปโทโรซอร์" (oviraptorosaur) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อให้มันว่า "ทารกน้อยอิงเหลียง"
ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ลงในวารสารไอไซเอนซ์ (iScience) เมื่อวันพุธที่ 22 ธ.ค. เผยว่า ท่าทางของตัวอ่อนในไข่บ่งบอกว่า ไดโนเสาร์ตัวนี้อยู่ในช่วงเตรียมฟักออกจากไข้เหมือนกับสัตว์ปีก
ดร.ฟิออน ไวซัม หม่า หนึ่งในทีมศึกษาเรื่องนี้กล่าวว่า มันคือ "ตัวอ่อนไดโนเสาร์สภาพสมบูรณ์ที่สุดที่มีการค้นพบในประวัติศาสตร์"

การค้นพบครั้งนี้ช่วยให้ทีมวิจัยได้มีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้นถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างไดโนเสาร์กับสัตว์ปีกในยุคปัจจุบัน โดนฟอสซิลเผยให้เห็นว่า ตัวอ่อนอยู่ในท่า "ขดตัว" ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่พบเห็นได้ในสัตว์ปีกก่อนที่จะฟักออกจากไข่
ดร. หม่า เผยกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า "นี่บ่งชี้ว่า พฤติกรรมในสัตว์ปีกยุคใหม่มีวิวัฒนาการและต้นกำเนิดมาจากบรรพบุรุษไดโนเสาร์ของพวกมัก"
โอวิแรปโทโรซอร์ ซึ่งมีความหมายว่า "สัตว์เลื้อยคลานจอมขโมยไข่" คือไดโนเสาร์มีขนที่เคยมีชีวิตอยู่ในเอเชีย และอเมริกาเหนือ ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย ระหว่าง 100 - 66 ล้านปีก่อน
ศาสตราจารย์ สตีฟ บรูแซตต์ นักบรรพชีวินวิทยา หนึ่งในทีมวิจัยครั้งนี้ได้โพสต์ข้อความทางทวิตเตอร์ว่า นี่คือ "หนึ่งในฟอสซิลไดโนเสาร์ที่น่าตื่นตาที่สุด" ที่เขาเคยเห็น และตัวอ่อนอยู่ในสภาพใกล้จะฟักออกจากไข่
ที่มา China Xinhua News , BBC Thai
บทความที่เกี่ยวข้อง
-
จีนพบฟอสซิลตัวอ่อนไดโนเสาร์ ฮาโดรซอร์ เก่าแก่กว่า 66 ล้านปี
-
นักวิจัยจีนพบ ฟอสซิลดอกตูม เก่าแก่ที่สุดในโลก
-
GISTDA ทดลองภารกิจใช้บอลลูนส่งผัดกะเพรา ขึ้นไปชั้นบรรยากาศ
-
นักวิจัยเผย แก่นชั้นในของโลกกำลังเย็นตัวลงเร็วกว่าที่คาดอย่างน้อย 1.5 เท่า
-
จีนทดสอบ ดวงอาทิตย์เทียม ร้อนกว่าของจริง 5 เท่า
-
ฟอสซิลตัวอ่อนไดโนเสาร์ล้านปี เผยความเชื่อมโยงกับสัตว์ปีกยุคปัจจุบัน