บราซิลพบหินพลาสติกบนเกาะห่างไกล สะท้อนมลพิษฝีมือมนุษย์
428
นักวิจัยในบราซิลพบหินที่มีพลาสติกเป็นส่วนประกอบบนเกาะตรินดาจี (Trindade Island) แหล่งวางไข่ของเต่าตนุ อยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่
Rodolfo Buhrer/Reuters
นักวิจัยในบราซิลพบหินที่มีพลาสติกเป็นส่วนประกอบ บนเกาะตรินดาจี (Trindade Island) ซึ่งเป็นแหล่งวางไข่ของเต่าตนุและอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่เป็นพันกิโลเมตร ย้ำชัดว่ามลพิษจากฝีมือมนุษย์มีอิทธิพลต่อวัฏจักรทางธรณีวิทยาของโลกมากขึ้นเรื่อยๆและเป็นเครื่องเตือนใจให้รีบแก้ไขสถานการณ์
ก้อนหินที่มีบางส่วนเป็นสีเขียวสด คือ หินที่มีพลาสติกละลายปะปนเป็นส่วนหนึ่งของก้อนหินไปด้วย ถูกพบที่เกาะตรินดาจี ซึ่งเป็นเกาะภูเขาไฟอยู่ห่างจากรัฐเอสปิริโต ซันโตของบราซิลไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 1,140 กม.
นักวิจัยเรียกสิ่งนี้ว่า "พลาสติกโลเมอเรต (plastiglomerates)" คำนิยามคือ เป็นหินชนิดใหม่ที่สมาคมธรณีวิทยาอเมริกาค้นพบตั้งแต่ปี 2013 ก่อตัวจากพลาสติกเมื่อถูกความร้อนและละลายรวมตัวกับทราย หิน เปลือกหอย และปะการัง ซึ่งพลาสติกจะยึดเอาเศษวัสดุต่าง ๆ เชื่อมติดไว้ด้วยกัน

จากการตรวจสอบพบว่า พลาสติกที่พบหลัก ๆ มาจากแห ซึ่งเป็นขยะที่พบได้ปกติตามหาดบนเกาะนี้ เพราะกระแสน้ำมักพัดพาเอาเศษแห อวน มาสะสมบนหาด และเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น พลาสติกจะละลายจนหลอมกลายเป็นเนื้อเดียวกับวัสดุในธรรมชาติบนชายหาดของเกาะนี้
เกาะตรินดาจี (Trindade Island) เป็นสถานที่สำหรับการอนุรักษ์เต่าตนุที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เพราะแต่ละปีจะมีเต่าตนุหลายพันตัวว่ายมาวางไข่ และบนเกาะยังปลอดภัยเพราะไม่มีประชาชนอาศัยอยู่ มีเพียงทหารจากกองทัพเรือบราซิลจำนวนหนึ่งเท่านั้น ที่ตั้งฐานอยู่บนเกาะเพื่อดูแลเต่าเหล่านี้ และตัวอย่างพลาสติกต่าง ๆ ที่นักวิจัยพบก็อยู่ในบริเวณเดียวกันกับที่เต่าวางไข่
ที่มา thaipbs
บทความที่เกี่ยวข้อง
-
บราซิลพบหินพลาสติกบนเกาะห่างไกล สะท้อนมลพิษฝีมือมนุษย์
-
เพนกวินเกือบ 600 ตัว ตายเกลื่อนหาดในบราซิล หลังพายุถล่ม
-
เด็กหญิงวัย 8 ขวบจากบราซิล ขึ้นแท่นนักดาราศาสตร์อายุน้อยที่สุดในโลก
-
หมอยง เผยโควิด-19 สายพันธุ์อินเดีย-เบงกอล ยังไม่เจอในไทย
-
บราซิลพบ ไวรัสกลายพันธุ์เปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง ทำให้การระบาดเลวร้าย
-
อินเดียติดโควิดวันเดียว 1.6 แสนคน แซงบราซิล ขึ้นอันดับ 2 โลก