เมืองในสหรัฐฯ ใช้เปลือกหอยนางรม สร้างแนวป้องกันน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง
582
หอยนางรมนอกจากจากจะเป็นอาหารยอดนิยมของผู้คนทั่วโลกแล้ว ที่เมืองนิวออร์ลีนส์ในสหรัฐฯ เค้ายังใช้เปลือกของมันสร้างแนวป้องกันน้ำทะเลกัดเซาะแนวชายฝั่งได้อีกด้วย
Photo : Thinkstock
หอยนางรมถือเป็นอาหารยอดนิยมสำหรับผู้คนทั่วโลก แต่ในเมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนาของสหรัฐฯ นอกจากจะเป็นอาหารเลิศรสแล้ว เปลือกของหอยนางรมยังถูกนำไปสร้างเป็นปราการป้องกันน้ำทะเลกัดเซาะแนวชายฝั่ง และน้ำท่วมจากพายุเฮอร์ริเคนอีกด้วย
โครงการนี้เกิดขึ้นจากบรรดาร้านอาหารในเมืองนิวออร์ลีนส์ที่มีแนวคิดในการนำเปลือกหอยนางรมที่บริโภคแล้วปริมาณมหาศาลมาใช้สร้างแนวกั้นน้ำทะเลกัดเซาะพื้นที่ชุ่มน้ำของเมืองที่มักเผชิญปัญหาน้ำท่วมในฤดูพายุเฮอร์ริเคนเป็นประจำทุกปี
ข้อมูลของสำนักสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ ในปี 2017 ระบุว่า ทุก 100 นาที รัฐลุยเซียนาสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดเท่าสนามฟุตบอล 1 สนามเนื่องจากการขุดคลอง, การสร้างคันกั้นน้ำ และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น Credit: Amanda Ruggeri / Via : BBC.com
ดิ๊ก เบรนแนน จากร้านอาหาร Bourbon House เล่าว่า ร้านอาหารของเขาเพียงแห่งเดียวรีไซเคิลเปลือกหอยนางรมไปแล้วกว่า 700 ตัน โดยเปลือกหอยที่ได้ถูกนำไปใส่ถุงตาข่ายแล้วนำไปวางกั้นริมตลิ่งพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อสร้างแนวกั้นที่มีชีวิตและเติบโตได้
ดาร์ราห์ บาค จากแนวร่วมฟื้นฟูชายฝั่งลุยเซียนา อธิบายว่า “เปลือกหอยที่เราวางไว้ในน้ำ จะดึงดูดลูกหอยนางรมให้เกาะตามเปลือกหอย และทำให้แนวกั้นมีขนาดใหญ่ขึ้น”
เธอบอกว่า ไม่เพียงเปลือกหอยพวกนี้จะช่วยให้มีประชากรหอยนางรมเพิ่มขึ้น แต่ยังดึงดูดสัตว์ชนิดอื่นด้วย และช่วยเสริมสร้างระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ในพื้นที่แถบนี้
ปัจจุบัน โครงการนี้ได้สร้างแนวกั้นจากเปลือกหอยนางรมครอบคลุมพื้นที่แนวชายฝั่งระยะทาง 2.4 กม. และพบว่าสามารถลดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรัฐลุยเซียนาลงได้ 50% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
ที่มา BBC Thai
บทความที่เกี่ยวข้อง
-
เมืองในสหรัฐฯ ใช้เปลือกหอยนางรม สร้างแนวป้องกันน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง
-
กาแฟเขาช่องชวนบริจาคขยะพลาสติกสร้างถนนรีไซเคิล มอบให้อุทยานแห่งชาติภูลังกา
-
พบหนอนยักษ์กินพลาสติกเป็นอาหาร อาจช่วยวงการรีไซเคิล
-
BMW อวดโฉม รถยนต์พลังงานไฟฟ้าต้นแบบ สร้างจากวัสดุรีไซเคิล
-
โตเกียวโอลิมปิก 2020 ใช้เหรียญรางวัลที่ผลิตจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รีไซเคิล
-
วิกฤตขยะพลาสติก หลังโควิด-19 ทางออกและโอกาสสู่การบริหารจัดการอย่างยั่งยืน