วิธีป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) "งดกินร่วมกัน" ทำได้น้อยสุด
1,103
ผลอนามัยโพลมาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล พบพฤติกรรมที่ประชาชนปฏิบัติได้น้อยที่สุด
ผลอนามัยโพลมาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention for COVID-19 ) พบพฤติกรรมที่ประชาชนปฏิบัติได้น้อยที่สุดคือ การงดกินร่วมกัน ย้ำ ช่วงนี้ให้งดการกินอาหารร่วมกันอย่างเคร่งครัดหรือให้เหลื่อมเวลาในการกินอาหารเพื่อลดการติดและแพร่เชื้อโควิด-19
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ที่ยังขยายเป็นวงกว้างและมีความต่อเนื่องในช่วงนี้ การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) เป็นมาตรการที่ขอให้ปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพราะจากผลสำรวจอนามัยโพล ประเด็น “คิดเห็นอย่างไร กับมาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention for COVID-19)” โดยได้แบ่งการสอบถามเป็น 2 กลุ่ม คือ เจ้าของหรือผู้ประกอบการ พนักงาน และอีกกลุ่มเป็นประชาชนทั่วไป ระหว่างวันที่ 24 สิงหาคม - 1 กันยายน 2564 พบว่าพฤติกรรมที่กลุ่มเจ้าของหรือผู้ประกอบการ พนักงาน
ส่วนใหญ่ทำได้มากที่สุดคือล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง ร้อยละ 89.2
รองลงมาคือ แยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิด ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น ร้อยละ 83.5
ส่วนพฤติกรรมที่ทำได้น้อยที่สุด คือ งดกินข้าวร่วมกัน
สำหรับกลุ่มประชาชนทั่วไปพบว่าพฤติกรรมที่ทำได้มากที่สุดคือ ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง ร้อยละ 83.8 รองลงมาคือหากสงสัยว่าตัวเองมีความเสี่ยง จะตรวจด้วยชุด ATK หรือไปรับการตรวจรักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน ร้อยละ 76.3 ส่วนพฤติกรรมที่ทำได้น้อยที่สุดคือ งดกินข้าวร่วมกัน ร้อยละ 51.9 จึงเป็นจุดคุมเข้มสำคัญที่ต้องขอความร่วมมือประชาชนรวมทั้งเจ้าของหรือผู้ประกอบการ พนักงาน งดการกินอาหารร่วมกันไปสักระยะหนึ่งก่อน หรือให้เหลื่อมเวลากัน ในช่วงการกินอาหาร เลือกกินอาหารที่ร้อนหรือปรุงสุกใหม่ และแยกของใช้ส่วนตัว เช่น จาน ชาม ช้อน ส้อม เป็นต้น เพื่อลดการแพร่และป้องกันการติดเชื้อโควิด-19
การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) นั้น เป็นการยกระดับการป้องกันการติดและการแพร่ของเชื้อโควิด-19 ด้วยหลักปฏิบัติ 10 ข้อสำคัญ ดังนี้
1) ออกจากบ้านเมื่อจำเป็นเท่านั้น
2) เว้นระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร ทุกสถานที่
3) สวมหน้ากากอนามัยและทับด้วยหน้ากากผ้าตลอดเวลา ทั้งนอกบ้านและในบ้านและเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น
4) ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
5) หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสหน้ากาก ใบหน้า ตา ปาก จมูก
6) ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ และผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังให้เลี่ยงออกนอกบ้าน
7) ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบนพื้นผิวที่สัมผัสบ่อย ๆ
8) แยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิด ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น
9) งดกินข้าวร่วมกันและเลือกกินอาหารที่ร้อนหรือปรุงสุกใหม่ และ
10) หากสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยง ควรตรวจด้วย ATK หรือไปรับการตรวจรักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
กรมอนามัย
บทความที่เกี่ยวข้อง
-
แม่ติดเชื้อโควิด-19 ให้นมลูกได้
แม่ที่ติดเชื้อโควิด-19 ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นอย่างยิ่ง เพราะในน้ำนมแม่มีสารภูมิคุ้มกันที่ช่วยเสริ...
-
ภาวะลองโควิดกับผู้ป่วยโรค NCD
แนะผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ควรหมั่นสังเกตอาการตนเอง หลังหายจากการติดเชื้อโควิดแล้ว...
-
ผลการประเมินวัคซีน mRNA-1273 ในเด็กอายุ 6 ถึง 11 ปี
ผลการศึกษาทางคลินิกจาก KidCOVE trial ที่ดำเนินการขึ้นเพื่อประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนโ...
-
ย้ำบุตรหลาน ปฏิบัติตามมาตรการ 2U รับช่วงเปิดเทอม
ในช่วงเปิดภาคเรียนแบบเต็มรูปแบบ ผู้ปกครองย้ำบุตรหลาน ปฏิบัติตามมาตรการ 2Uเพื่อลดความเสี่ยง...
-
MIS-C (มิสซี) ภาวะแทรกซ้อนหลังหายป่วยโควิดในเด็ก
ภาวะ MIS-C (มิสซี) คือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็กหลังหายจากการติดเชื้อโควิด-19...
-
พบ 5 พฤติกรรมคนไทยการ์ดตก เสี่ยงติดโควิด 19
คนไทยการ์ดตก ไม่สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ทั้งอยู่ในและนอกบ้านที่มีคนมากกว่า 2 คน มากที่สุด...