ไข้เลือดออกต่างกับโควิด 19 อย่างไร
1,058
อาจทำให้ประชาชนเกิดความสับสนในการดูแลและเฝ้าสังเกตอาการของโรคไข้เลือกออกกับโรคโควิด 19
ด้วยสภาพอากาศที่แปรปรวน ทั้งอากาศร้อนและมีพายุส่งผลให้ฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในหลายจังหวัดพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการแพร่ระบาดไวรัสโควิด 19 อาจทำให้ประชาชนเกิดความสับสนในการดูแลและเฝ้าสังเกตอาการของโรคไข้เลือกออกกับโรคโควิด 19 โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็กควรดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเด็กเล็กจะป่วยง่าย และเด็กในกลุ่มอายุต่ำกว่า 5 ปี ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด 19 หากพบว่าไม่สบาย มีไข้ ปวดเมื่อยร่างกาย ท้องเสียตรวจ ATK แล้วผลเป็นลบให้ระวังไข้เลือดออกร่วมด้วย
อาการไข้เลือดออกจะมีไข้สูงลอยประมาณ 2-7วัน ผื่น หน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง บางรายอาจมีถ่ายดำหรือถ่ายเป็นเลือดถ้ารุนแรง อาจเห็นจุดเลือดออกสีแดงเล็กๆ ตามผิวหนัง มักไม่พบอาการไอหรือมีน้ำมูก หากหายใจลำบากหรือปอดอักเสบ แต่โควิด 19 จะมีไข้ต่ำถึงสูง ปวดเมื่อยตามตัว เจ็บคอ ไอแห้งหรือมีเสมหะ มีน้ำมูก หอบเหนื่อยหายใจลำบาก ปอดอักเสบในรายที่รุนแรง อาเจียน ท้องเสียมีในบางราย ไม่พบจุดเลือดออกตามผิวหนัง ผู้ปกครองควรสังเกตอาการหากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์ทันที
สาเหตุของโรคไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ มี 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4 โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ส่วนโรค โควิด 19 เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่2019 (SARS-CoV-2) สามารถแพร่จากคนสู่คนได้ทางละอองฝอย เสมหะน้ำลาย ผ่านการสัมผัสเยื่อบุตา จมูก ปาก แต่ในกรณีถ้าเกิดการระบาดพร้อมๆ กัน ก็จะมีโอกาสพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 และเป็นไข้เลือดออกได้ ผู้ป่วยไข้เลือดออกในระยะวิกฤต จะมีน้ำเหลืองรั่วออกนอกเส้นเลือด ทำให้เกิดภาวะช็อก ซึ่งถ้าไม่ได้รับสารน้ำทดแทนอย่างทันท่วงที จะทำให้เกิดภาวะช็อกนาน จนเกิดตับวาย ไตวาย และอวัยวะอื่นๆ ทำงานล้มเหลว จนเสียชีวิตได้
โรคไข้เลือดออก การรักษาจึงเป็นไปตามอาการ มีไข้ให้เช็ดตัวและรับประทานยาพาราเซตามอลลดไข้เท่านั้น ห้ามใช้แอสไพรินไอบูโพรเฟน ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย อาจให้ดื่มนม น้ำผลไม้ หรือน้ำเกลือแร่ร่วมด้วย โควิด 19 หากอาการไม่รุนแรง จะรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เมื่อมีไข้หรือปวดศีรษะ ให้ทานยาลดไข้ ส่วนใหญ่จะมีอาการไข้ไม่เกิน 2 - 3 วัน จะค่อยๆ ดีขึ้น หากมีน้ำมูก ให้ทานยาลดน้ำมูกเท่าที่จำเป็น หรือถ้าน้ำมูกข้นเขียว ในเด็กโตสามารถล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ หากมีอาการไอให้รับประทานยาแก้ไอตามอาการ และจิบน้ำอุ่นบ่อยๆ หากไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส หายใจหอบเร็วกว่าปกติ หน้าอกบุ๋ม ปีกจมูกบาน ตอนหายใจ ปากเขียว ระดับออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 94% ซึมลง งอแง ไม่ดูดนม ไม่กินอาหาร ถ่ายเหลว หรืออาเจียนมากต่อเนื่องกัน ควรรีบนำเด็กไปโรงพยาบาลตามสิทธิ์หรือ โรงพยาบาลในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
บทความที่เกี่ยวข้อง
-
วิธีสังเกต ไข้เลือดออก ภัยใกล้ตัวจากยุงลาย
ไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเตงกี และมียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ๋...
-
ใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงอย่างถูกวิธี รับมือไข้เลือดออกและมาลาเรีย
ยอดผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียเพิ่มอย่างต่อเนื่อง อย. แนะวิธีการเลือกซื้อ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ย...
-
วิธีทานหมูกระทะ ปิ้งย่างห่างไกลโควิด 19
วิธีปฏิบัติสุขบัญญัติ ทานหมูกระทะ ปิ้งย่างเลือกร้านสะอาด มีระยะห่าง ไม่เบียดเสียด แยกภาช...
-
พฤติกรรม 5 ป. เสี่ยงติดโควิด 19
เผย 5 ป. พฤติกรรมเสี่ยงโรคโควิด 19 พบประชาชนไปกินหมูกระทะ ชาบู สุกี้ร่วมกับเพื่อน ญาติ...
-
3 ส. ป้องกันควบคุมโควิด 19 ตามชีวิตวิถีใหม่ในหอพัก คอนโด
แนะหลัก 3 ส. เสริมทักษะ สื่อสารให้ความรู้ และสิ่งแวดล้อมจัดการให้สะอาด เป็นแนวทางป้องกันและควบคุมโรค...
-
พกฟ้าทะลายโจรอุ่นใจ เดินทางปีใหม่ ห่างไกลโควิด 19
ฟ้าทะลายโจร ความมั่นคงทางยา มั่นใจรับมือโควิดได้ ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่...