เรียนรู้อย่างเข้าใจ ปรับพฤติกรรมใหม่ ห่างไกล NCDs
372
พฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตแบบผิด ๆ มีผลต่อสุขภาพของทุกคนเป็นอย่างมาก อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDs
พฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตแบบผิด ๆ มีผลต่อสุขภาพของทุกคนเป็นอย่างมาก อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDs ยิ่งในยุคนี้เป็นยุคที่สั่งอาหารได้สะดวก รวดเร็ว ทำให้เกิดวิถีการกินแบบตามใจปาก หรือแม้กระทั่งการนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ รวมทั้งการมีภาวะเครียดสะสม ส่วนหนึ่งนั้นมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบไม่ระวัง โดยสิ่งเหล่านี้ถือเป็นสัญญาณเตือนความเสื่อมสภาพของร่างกายเรานั่นเอง
NCDs หรือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เกิดจากความเสื่อมสภาพของร่างกาย ซึ่งไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อใด ๆ แต่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรานั่นเอง โรค NCDs เป็นโรคที่เราสร้างขึ้นเองจากการกระทำ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่เข้าสู่ร่างกาย ความเครียด และการไม่ค่อยออกกำลังกาย รวมไปถึงพฤติกรรมการกิน ซึ่งผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรคเหล่านี้ ส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนวัยอันควรทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ สสส.จึงพยายามสร้างความตระหนัก กระตุ้นให้คนเห็นความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น ลดการรับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม เลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เสริมสร้างกิจกรรมทางกาย เพื่อสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs
ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและสุขภาพ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน อาทิ การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การรับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม มากจนเกินไป การได้รับสารเคมีตกค้างจากผัก และผลไม้ การขาดกิจกรรมทางกาย มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง หรือแม้กระทั่งเรื่องของสุขอนามัยในการนอน สิ่งเหล่านี้ล้วนนำไปสู่ปัญหาโรค NCDs จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะปรับรูปแบบการใช้ชีวิตและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ การลดพฤติกรรมเสี่ยงที่จะนำไปสู่โรค NCDs ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ลดการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม ส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้ ลดละเลิกปัจจัยเสี่ยงอย่าง บุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมพร้อมรับปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ และปรับเปลี่ยนค่านิยมของสังคม สู่วิถีชีวิตสุขภาวะ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพดี โดยเริ่มจากตัวเรา นำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันกลุ่มโรค NCDs มีทั้งหมด 6 โรค ดังนี้
1) โรคมะเร็ง (Cancer)
2) โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)
3) โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ (Cardiovascular & Celebrovascular Diseases)
4) โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)
5) โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
6) โรคอ้วนลงพุง (Obesity)
เคล็ดลับปรับพฤติกรรมให้ห่างไกลจากโรค NCDs
1) หากนั่งนานๆ ควรมีการขยับร่างการบ่อย ๆ และจัดท่วงท่านั่งที่สบายขึ้น
2) เลี่ยงการรับประทานรสหวานจัด มันจัด เค็มจัด ลดการเติม หรือปรุงอาหารด้วยเครื่องปรุงรส
3) หากมีการประชุมเป็นเวลานาน ๆ ควรพักเบรก เพื่อยืดเส้น ยืดสาย แก้การปวดเมื่อยจากการนั่งท่าเดิม ๆ
4) พักผ่อนให้เพียงพอ
5) ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ลดการวิตกกังวล
หากเราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งทางร่างกายและจิตใจได้ เราก็จะมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยต่าง ๆ โดยเฉพาะโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความไม่รู้ และความชะล่าใจในการใช้ชีวิตประจำวัน เราสามารถกำหนดตัวเองได้ว่าร่างกายควรทำอะไรให้สุขภาพจิตและสุขภาพกายดี เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต โดยเฉพาะในวัยทำงาน ซึ่งถือว่ามีไลฟ์สไตล์ที่เอื้อต่อการเกิดโรคเป็นอย่างมาก ดังนั้น การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การหยุดพฤติกรรมเสี่ยงและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ ให้ห่างไกลจากกลุ่มโรค NCDs
สสส. และภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนการสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สนับสนุนให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดูแลสุขภาพ ด้วยการสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้อง อย่างการเลือกรับประทานอาหาร เพิ่มผัก ผลไม้ ลดหวาน มัน เค็ม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีกิจกรรมหรืองานอดิเรกในการผ่อนคลายความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ รวมทั้งลด ละ เลิกปัจจัยเสี่ยง อย่างเหล้า บุหรี่ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ห่างไกลจากโรคต่าง ๆ นำไปสู่วิถีชีวิตแห่งสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน
สสส.
บทความที่เกี่ยวข้อง
-
เรียนรู้อย่างเข้าใจ ปรับพฤติกรรมใหม่ ห่างไกล NCDs
พฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตแบบผิด ๆ มีผลต่อสุขภาพของทุกคนเป็นอย่างมาก อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโ...
-
ห่วงเด็กในยุคออนไลน์ แนะสุขบัญญัติ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
ห่วงเด็กในยุคออนไลน์ มีภาวะเครียด เนือยนิ่ง แนะผู้ปกครองดูแลใส่ใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็ก...
-
มองเทรนด์สุขภาพปี '65 ก้าวไปข้างหน้ากับวิถีใหม่
"Thaihealth Watch 2022" จับตาทิศทางสุขภาพคนไทยในปี 2565 ภายใต้แนวคิด Adaptive Living : ปรับการใช้ชีว...
-
ห่วงพฤติกรรมเนือยนิ่งช่วงโควิด เพิ่มเสี่ยงโรค NCDs
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง โดยเฉลี่ย 14 ชั่วโมงต่อวัน...
-
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
สมาชิกในครอบครัวเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการควบคุมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวาน...
-
แนะเปิด ปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แนวทางสู่สุขภาพดีกาย ใจ ในช่วงเทศกาลกินเจ
แนะเปิด ปรับ เปลี่ยน 3 วิธีดูแลพฤติกรรมสุขภาพในเทศกาลกินเจ...