วิธีลดอ้วนช่วงเด็กปิดเทอม คุมเข้มอาหารปรับพฤติกรรมสุขภาพ
687
วิธีลดอ้วนสำหรับเด็กช่วงปิดเทอม แนะนำ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรใส่ใจเลือกอาหาร ที่ถูกหลักโภชนาการ
วิธีลดอ้วนสำหรับเด็กช่วงปิดเทอม แนะนำ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรใส่ใจเลือกอาหาร ที่ถูกหลักโภชนาการ และคุมเข้มพฤติกรรมสุขภาพของลูกเป็นพิเศษ หลังพบเด็กไทยกินขนมและดื่มน้ำอัดลมมากขึ้น พร้อมชวนเพิ่มการออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
ช่วงปิดเทอมเด็กๆ อยู่บ้านมากขึ้น ส่งผลให้พฤติกรรมส่วนใหญ่ของเด็กเปลี่ยนไป จะนอนดึก ตื่นสาย พักผ่อนไม่เพียงพอ เพราะใช้เวลาในการเล่นเกมส์เล่นโทรศัพท์ งดมื้อเช้า เลือกกินขนม น้ำอัดลม น้ำหวาน และมีพฤติกรรมเนือยนิ่งเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เด็กมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น และเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ
จากข้อมูลในปี 2538 – 2557 พบว่า เด็กไทยติด 1 ใน 3 ของอาเซียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน และมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า อีกทั้ง 1 ใน 2 ของเด็กอายุ 12 ปี ดื่มเครื่องดื่มรสหวานและน้ำอัดลมมากกว่า 2 ครั้งต่อวัน และ 1 ใน 3 ของเด็กไทยกินขนมถุงเป็นประจำทุกวันมากกว่า 2 ครั้ง นอกจากนี้ จากการเก็บข้อมูลยังพบว่า 9 ใน 10 ของเด็กไทยเห็นสื่อโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูง ซึ่งการเห็นสื่อโฆษณาบ่อยๆ จะกระตุ้นการกินของเด็กทำให้อยากได้ อยากกินตามโฆษณา และมากกว่า 3 ใน 4 ของเด็กไทยที่ไม่เห็นข้อความเตือนในโฆษณาอาหารและเครื่องดื่ม
ช่วงปิดเทอมพ่อแม่ ผู้ปกครอง จึงควรใส่ใจในการดูแลพฤติกรรมสุขภาพของเด็กเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะด้านอาหารและโภชนาการ ควรจัดอาหารให้มีคุณค่าและถูกหลักโภชนาการ ทั้งปริมาณและความเหมาะสมกับวัย ใน 1 วัน ควรกินอาหารที่หลากหลาย และครบ 5 หมู่ ซึ่งเด็กอายุ 6 - 14 ปี ควรได้รับพลังงานเฉลี่ยที่ 1,600 กิโลแคลอรี โดยในแต่ละวันควรกินข้าวหรือแป้ง จำนวน 8 ทัพพี เนื้อสัตว์ จำนวน 6 ช้อนกินข้าว ผัก จำนวน 12 ช้อนกินข้าว นม 2 แก้ว และให้มีผลไม้ 6 – 8 ชิ้นพอดีคำทุกมื้อ อาจชวนเด็กฝึกปรุงอาหารของตนเอง โดยลดหวาน มัน เค็ม หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น รวมทั้งเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปพร้อมทาน อาหารแช่แข็งพร้อมทาน ควบคุมการซื้อขนมกรุบกรอบ เครื่องดื่มรสหวานจัด น้ำอัดลม ชานมไข่มุก และจัดเตรียมนมรสจืดและผลไม้ที่เด็กๆ ชอบไว้ในตู้เย็นแทน และให้ดื่มน้ำสะอาด 6 - 8 แก้วต่อวัน
ที่สำคัญ ควรส่งเสริมให้เด็กมีกิจกรรมทางกาย จนรู้สึกเหนื่อย อย่างน้อย 60 นาทีทุกวัน (สะสมต่อเนื่อง10 นาทีขึ้นไป) เช่น เต้นแอโรบิก วิ่ง ปั่นจักรยาน กระโดดเชือก ทำงานบ้าน งานสวน เคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น เพื่อการมีสุขภาพที่ดี และนอนหลับให้เพียงพอวันละ 9- 11 ชั่วโมง (สำหรับเด็กอายุ 6-13 ปี) และ 8 - 10 ชั่วโมง (สำหรับเด็กอายุ 14-17 ปี)
กรมอนามัย
บทความที่เกี่ยวข้อง
-
ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมตลาดอาหารและเครื่องดื่ม หวังลดอ้วนในเด็ก
เปิดเวทีประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นสาธารณะผลักดัน (ร่าง) พ.ร.บ.ควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่...
-
Back to School รับเปิดเทอม รู้ทันโรคภัยที่มักเกิดในโรงเรียน
เดือนพฤษภาคมนี้เด็กๆ ก็จะเปิดเทอมกันแล้ว โรงเรียนเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองของเด็กๆ ที่ต้องใช้ชีวิต...
-
วัยทำงานสุขภาพแย่ แนะกินถูกหลัก ออกกำลังกาย ลดเครียด
ค่าเฉลี่ย BMI ของวัยทำงานเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน แนะวัยทำงาน เลือกกินอาหารถูกหลักโภชนาการ ออกกำลังกายเป...
-
เตือนผ่าตัดกระเพาะ ไม่ใช่ทางลัดลดน้ำหนัก แนะใช้วิธีธรรมชาติ ก่อนพึ่งพาศัลยกรรม
เตือนการผ่าตัดกระเพาะ ใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วน มิใช่ทางลัดในการลดน้ำหนัก แนะหนุ่ม-สาวที่อยากหุ่...
-
เด็กอ้วนเสี่ยงเป็นผู้ใหญ่อ้วนถึง 5 เท่า
เด็กอ้วนในวัยเรียนมีผลกระทบต่อทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงต่อภาวะบกพร่อง...
-
วิธีลดอ้วนช่วงเด็กปิดเทอม คุมเข้มอาหารปรับพฤติกรรมสุขภาพ
วิธีลดอ้วนสำหรับเด็กช่วงปิดเทอม แนะนำ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรใส่ใจเลือกอาหาร ที่ถูกหลักโภชนาการ...