ระวังป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 ในช่วงฤดูฝน
402
เตือนระวังป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ในช่วงฤดูฝน แนะนำกลุ่มเสี่ยงรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้ง
เตือนระวังป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ในช่วงฤดูฝน แนะนำกลุ่มเสี่ยงรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้ง
โดยเฉพาะ 7 กลุ่มเสี่ยง คือ หญิงตั้งครรภ์ (อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป) เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปีทุกคน ผู้มีโรคเรื้อรัง (ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน) ผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป โรคธาลัสซีเมีย และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ) โรคอ้วน และผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ สามารถ รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ พร้อมกับวัคซีนโควิด-19 เพื่อช่วยป้องกันป่วยหนักและเสียชีวิตจากทั้งสองโรค
ช่วงนี้ในหลายพื้นที่มีสภาพอากาศแปรปรวน และพายุฝนฟ้าคะนอง ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝนประมาณสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคม กรมควบคุมโรค จึงขอให้ประชาชนป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่โดยการล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงสถานที่ผู้คนแออัดหรือสวมหน้ากากหากจำเป็นต้องเข้าไป เนื่องจากระยะนี้ใกล้เข้าสู่ฤดูกาลการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ นอกจากนี้เป็นช่วงเวลาที่สถานศึกษาใกล้เปิดภาคเรียนหากไม่มีการป้องกันที่ดี อาจมีการแพร่ระบาดของโรคได้ง่ายในกลุ่มเด็กนักเรียนและเด็กเล็ก สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรง หากมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น ไข้สูง มีน้ำมูก ไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัวให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาโดยเร็ว
“การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นในกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะประชากร 7 กลุ่ม ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ทุกคน ผู้มีโรคเรื้อรัง ดังนี้ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน ผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ) โรคอ้วน (น้ำหนัก> 100 กิโลกรัม หรือ BMI > 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) และผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ที่เสี่ยงสูงต่อภาวะป่วยหนักและเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งกลุ่มเหล่านี้มีความเสี่ยงป่วยหนักจากโรคโควิด-19 ด้วยเช่นกัน การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต่อทั้งสองโรคควบคู่กันจึงเป็นอีกหนึ่งมาตรการสำคัญที่จะช่วยปกป้องกลุ่มเสี่ยงและคนรอบข้างได้ และปีนี้เริ่มการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันทั้ง 2 โรคพร้อมกันภายใน วันเดียวกันโดยฉีดที่ต้นแขนคนละข้าง”
ข้อมูลการเฝ้าระวัง สายพันธุ์เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ขณะนี้พบไวรัสสายพันธุ์ A/H3 ร้อยละ 53 มากที่สุด รองลงมาเป็น สายพันธุ์ B และ A/H1 2009 ร้อยละ 31 และ 16 ตามลำดับ การเฝ้าระวังเหตุการณ์การระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-1 พฤษภาคม 2566 พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อน 15 เหตุการณ์ และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มากที่สุดในโรงเรียน พบการระบาด 7 เหตุการณ์ รองลงมาเป็นเรือนจำ 5 เหตุการณ์ วัด 2 เหตุการณ์ และค่ายทหาร 1 เหตุการณ์ จึงขอให้ผู้รับผิดชอบสถานที่เหล่านี้ เข้มงวดมาตรการป้องกันโรค ได้แก่ สวมหน้ากากเมื่อมีอาการป่วยเพื่อลดการแพร่เชื้อ ล้างมือ บ่อยๆ เลี่ยงการอยู่ในที่มีผู้คนแออัดหรือสวมหน้ากาก นอกจากนี้ แนะนำประชากรกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
สสส.
บทความที่เกี่ยวข้อง
-
ระวังป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 ในช่วงฤดูฝน
เตือนระวังป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ในช่วงฤดูฝน แนะนำกลุ่มเสี่ยงรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้ง...
-
เร่งสร้างภูมิด้วยวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หนึ่งในเกราะป้องกันโรคปอดอักเสบ ลดอาการป่วยรุนแรง
ด้วยสถานการณ์โรคปอดอักเสบ ถือเป็นโรคติดเชื้อที่มีอุบัติการณ์การเสียชีวิตทั่วโลกกว่า 2.5 ล้านคน...
-
ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด ป้องกันไข้หวัดใหญ่
เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง ร่างกายอาจปรับตัวไม่ทันทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่ ...
-
ห่วงผู้สูงอายุพลัดตกหกล้มในช่วงฤดูฝน แนะสวมใส่รองเท้าที่พื้นมีดอกยาง
ห่วงใยผู้สูงอายุไทย ซึ่งมีสถิติหกล้มปีละ 3 ล้านราย สาเหตุหลักเกิดจากการลื่น สะดุดล้ม...
-
เตือนประชาชนระวังเจ็บป่วยด้วยโรคและภัยสุขภาพในช่วงฤดูฝน
ออกประกาศเตือนประชาชนระวังการเจ็บป่วยด้วยโรคและภัยสุขภาพในช่วงฤดูฝน มีทั้งหมด 7 โรค 3 ภัยสุขภาพ...
-
ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ความเหมือนที่แตกต่างจากโควิด-19
ทั้งไข้หวัดใหญ่รุ่นพี่และเพื่อนรุ่นน้องอย่างโควิด-19เป็นโรคติดต่อจากระบบทางเดินหายใจเช่นเดียวกัน...