รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและครอบครัว
1,440
ความรุนแรงต่อเด็ก สตรีและคนในครอบครัวเป็นปัญหาที่สำคัญ ควรได้รับการดูแลแก้ไข
ความรุนแรงต่อเด็ก สตรีและคนในครอบครัวเป็นปัญหาที่สำคัญ ควรได้รับการดูแลแก้ไข และรณรงค์ให้เกิดความตระหนักมากขึ้น
วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี ได้รับการรับรอง จากองค์การสหประชาชาติให้เป็น “วันขจัดความรุนแรงต่อสตรีสากล” ตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 สำหรับประเทศไทย มีมติคณะรัฐมนตรี กำหนดให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็นเดือน “รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี” โดยมีการรณรงค์ตลอดทั้งเดือนเพื่อให้สังคมได้ตระหนักและร่วมกันป้องกันความรุนแรง ที่จะเกิดขึ้นต่อเด็ก สตรีและคนในครอบครัว รวมไปถึงความรุนแรงในสังคมทุกรูปแบบ ไม่เพิกเฉยหรือมองปัญหาเหล่านี้เป็นเพียงปัญหาในครอบครัว ซึ่งปัญหาความรุนแรงในเด็กประกอบไปด้วย การทำร้ายร่างกายเด็ก การละเมิดทางเพศ การทำร้ายทางจิตใจ การละเลยทอดทิ้งเด็ก
จากสถิติผู้มารับบริการของศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในระหว่างการระบาดของโควิด 19 มีผู้ถูกกระทำความรุนแรงเข้ารับบริการเพิ่มมากขึ้น ในปี 2562-2564 มีจำนวน 15,000-16,000 ราย โดยร้อยละ 40 เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ผู้กระทำความรุนแรงส่วนใหญ่เป็นบุคคลในครอบครัว ข้อมูลจากองค์การยูนิเซฟ พบว่าในช่วงการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด 19 เด็กทั่วโลกกำลังเผชิญความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหลายด้าน เช่น การถูกละเมิด ความรุนแรงด้านต่างๆ การถูกแสวงประโยชน์ การถูกกีดกันจากสังคม รวมถึงการถูกแยกจากผู้ปกครอง และจากสถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติพบว่า เด็กไทยถูกล่วงละเมิดทางเพศทางออนไลน์สูงมากขึ้น โดยเด็กส่วนใหญ่มักไม่ได้เล่าให้ผู้ปกครองฟัง และมากกว่าร้อยละ 47 ที่ไม่รู้ว่าจะขอความช่วยเหลือได้อย่างไร
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี มีการจัดตั้งศูนย์พึ่งได้ (One Stop Crisis Center: OSCC) เพื่อให้การรักษาพยาบาลและคุ้มครองเด็ก โดยปฏิบัติงานภายใต้พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 พบว่าปัจจุบันการคุกคามความปลอดภัยเด็กผ่านสื่อออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นในปีนี้ทางสถาบันฯได้มีการจัดกิจกรรม รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในหัวข้อ “บ้านอบอุ่นใจ เด็กปลอดภัย ใช้สื่อสังคมออนไลน์ให้เป็น Keep your kids safe with smart family” เพื่อให้ความรู้แก่เด็กและผู้ปกครองให้มีความรู้เท่าทันสื่อ สามารถช่วยเหลือเด็กเมื่อประสบความรุนแรงในการใช้สื่อได้ โดยทางสถาบันฯมีคำแนะนำดังนี้
1. ควรมีการจำกัดเวลาใช้ และตั้งกติกา
2. ควรมีการตรวจสอบเนื้อหาของสื่อที่เด็กใช้
3. มีเวลาให้กับลูกและทำกิจกรรมร่วมกัน
4. สอนทักษะรู้เท่าทันสื่อและความฉลาดทางดิจิทัล โดยรู้จักวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของสื่อ คิดก่อนโพสต์ ไม่แชร์ข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อตนเองและผู้อื่น ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัว เช่นที่อยู่ เลขบัตรประชาชน ตั้งรหัสให้คาดเดายาก และตรวจสอบบัญชีผู้ใช้ของตนอยู่เสมอ
5. หากเกิดความผิดพลาดในการใช้สื่อหรือถูกคุกคาม เด็กๆ ควรบอกผู้ปกครองและแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยควรหยุดการใช้สื่อโซเชียล บล๊อคการติดต่อกับบุคคลที่คุกคามและ Report เพื่อกันไม่ให้บุคคลนั้นใช้โซเชียลชั่วคราว บันทึกหน้าจอเพื่อใช้เป็นหลักฐานหลังจากนั้นให้ลบข้อมูลคุกคามหรือข้อมูลที่ไม่ดีออกเพื่อลดการส่งต่อ และผู้ปกครองคอยสังเกตติดตามอารมณ์และพฤติกรรมเด็กที่อาจได้รับผลกระทบ
กรมการแพทย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
-
รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและครอบครัว
ความรุนแรงต่อเด็ก สตรีและคนในครอบครัวเป็นปัญหาที่สำคัญ ควรได้รับการดูแลแก้ไข...
-
เด็กถูกจีบในโลกออนไลน์ ภัยคุกคามที่ต้องระวัง!
ตั้งทีมสหวิชาชีพคุ้มครอง แก้กฎหมายเอาผิด หยุดปัญหา Child Grooming เด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ...
-
ลดน้ำหนัก...ลดภัยคุกคาม มะเร็งระบบทางเดินอาหาร
หลายคนอาจไม่รู้ว่าหนึ่งในสาเหตุเริ่มต้นของการเป็นกรดไหลย้อนที่อาจจะพัฒนาไปสู่โรคร้ายแรงอื่นๆ ในระบบท...
-
หยุดปัญหาคุกคามทางเพศ ในสถาบันการศึกษา
ปัญหาการคุกคามทางเพศในสถาบันการศึกษา ทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ยังคงน่าเป็นห่วง ...
-
แนะคนรุ่นใหม่ระวังภัยคุกคาม ข้อนิ้วล็อก-ข้อเข่าเสื่อม
แนะคนวัยหนุ่มสาวเตรียม พร้อมในการดูแลข้อเข่า-ข้อนิ้วเสื่อม เนื่องจากการใช้ชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไป...
-
เมื่อฉันถูกคุกคาม...(ทางเพศ)
เพราะการคุกคามทางเพศกว่า 45% เกิดขึ้นบนขนส่งสาธารณะ...