โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ถ่ายทอดจากพันธุกรรมสู่ลูกหลาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
990
คู่ที่มีความเสี่ยงต่อการมีลูกเป็นธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเป็นโรคเลือดทางพันธุกรรม
คู่ที่มีความเสี่ยงต่อการมีลูกเป็นธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเป็นโรคเลือดทางพันธุกรรม โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเป็นโรคเลือดทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย หากร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้น แตกและถูกทำลายง่าย โดยโรคนี้ถ่ายทอดจากบิดามารดาสู่ลูกหลาน
โรคธาลัสซีเมียเกิดจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการผลิตฮีโมโกลบิน ซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรมของภาวะโลหิตจางในธาลัสซีเมียที่เป็นยีนด้อย โดยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่
1. แบบพาหะ ไม่มีอาการ มียีนธาลัสซีเมียเพียงยีนเดียวจากพ่อหรือแม่ สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ วินิจฉัยจากการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัตรการด้วยวิธีพิเศษ
2. แบบเป็นโรค ได้รับยีนธาลัสซีเมียมาจากพ่อและแม่ ทำให้มีอาการของโรค
อาการของโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย แบ่งเป็น 4 ชนิด ได้แก่
1. ชนิดรุนแรงน้อย ผู้ป่วยมีชีวิตใกล้เคียงคนปกติ
2. ชนิดปานกลาง ผู้ป่วยจะมีอาการ ซีด ตับม้ามโตไม่มากแต่อาจซีดลงเร็วเมื่อมีการติดเชื้อ
3. ชนิดรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการ ซีด เหลือง ตับม้ามโตตั้งแต่เด็ก ต้องได้รับเลือดเป็นประจำ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ นิ่วในถุงน้ำดี หัวใจวาย และติดเชื้อ
การให้คำปรึกษาแนะนำทางพันธุศาสตร์สำหรับผู้ที่เป็นคู่ที่มีความเสี่ยงต่อการมีลูกเป็นธาลัสซีเมีย โดยคู่ที่เสี่ยงต่อการมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมียได้แก่คู่ที่มีลักษณะต่อไปนี้ครบทุกข้อ
1. ทั้งคู่มียีนโรคธาลัสซีเมีย
2. ทั้งคู่มียีนโรคธาลัสซีเมียในกลุ่มเดียวกัน คือ ในกลุ่ม alpha-thalassemia หรือ beta-thalassemia เหมือนกัน และ
3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนธาลัสซีเมียจากทั้งคู่ทำให้เกิด genotype ชนิดที่เป็นโรค
สำหรับคู่ที่ไม่เสี่ยงต่อการมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมียได้แก่คู่ที่มีลักษณะต่อไปนี้
1. คนใดคนหนึ่งมียีนธาลัสซีเมียเพียงฝ่ายเดียว
2. ทั้งคู่มียีนธาลัสซีเมียแต่เป็นยีนคนละกลุ่มกัน เช่น คนหนึ่งมียีนในกลุ่ม alpha-thalassemia และอีกคนมียีนในกลุ่ม beta-thalassemia
3. ทั้งคู่มียีนธาลัสซีเมียในกลุ่มเดียวกันแต่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนจากทั้งคู่ไม่ทำให้เกิด genotype ชนิดที่เป็นโรค
วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือการปรึกษาแพทย์เมื่อต้องการมีลูก เพื่อตรวจคัดกรองว่าคู่สามีภรรยามีพาหะธาลัสซีเมียหรือไม่ นอกจากนี้ ผู้ป่วยธาลัสซีเมียสามารถควบคุมอาการของโรคไม่ให้รุนแรงและใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำและแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัดและใช้ชีวิตให้ถูกสุขลักษณะ
กรมการแพทย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
-
หญิงไทย ร้อยละ 37 มีภาวะโลหิตจาง แนะกินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
หญิงไทย ร้อยละ 37 มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก แนะกินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ...
-
โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ถ่ายทอดจากพันธุกรรมสู่ลูกหลาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
คู่ที่มีความเสี่ยงต่อการมีลูกเป็นธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเป็นโรคเลือดทางพันธุกรรม...
-
สาวอีสานวัยเจริญพันธุ์มีภาวะโลหิตจางสูง รณรงค์เสริมธาตุเหล็กแก้ปัญหา
รณรงค์โครงการผิวสวย แก้มใส สาวไทยขอนแก่น แก้มแดง ลดปัญหาโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในกลุ่มหญิงวัยเจริ...
-
โรคธาลัสซีเมีย มรดกถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก วางแผนครอบครัวก่อนแต่งงานมีบุตร ลดการ เกิดผู้ป่วยรายใหม่
ธาลัสซีเมีย เป็นโรคโลหิตจางที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้การสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงผิดปกติ...
-
เผยโรคไขกระดูกฝ่อ อันตรายถึงขั้นหัวใจล้มเหลว
โรคไขกระดูกฝ่อเป็นโรคที่ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดได้...
-
ป้องกันโรคธาลัสซีเมียที่ดีที่สุด
กระตุ้นให้ทุกประเทศให้ความสำคัญในการป้องกันโรคธาลัสซีเมีย...