ลดน้ำหนัก แต่งหน้า เคล็ดลับแต่งหน้า เทรนด์แฟชั่น

ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมตลาดอาหารและเครื่องดื่ม หวังลดอ้วนในเด็ก

อ้วน

    เปิดเวทีประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นสาธารณะผลักดัน (ร่าง) พ.ร.บ.ควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก เน้น 9 มาตรการสำคัญ เพื่อปกป้องเด็กไทยจากการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่หวาน มัน เค็มเกินมาตรฐาน หวังลดโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

    จากผลการศึกษาของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2563 พบว่าใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เด็กไทยมีภาวะอ้วนขึ้นมากกว่า 2 เท่า โดยเด็กอายุ 1-5 ปี มีภาวะอ้วนและเริ่มอ้วน เพิ่มขึ้น 2 เท่า จากร้อยละ 5.8 เป็นร้อยละ 11.4 เด็กอายุ 5-14 ปี เพิ่มขึ้น 2.4 เท่า จากร้อยละ 5.8 เป็นร้อยละ 13.9 และเด็กอายุ 15-18 ปี มีภาวะอ้วน ร้อยละ 13.2 ซึ่งสหพันธ์โรคอ้วนโลก (World Obesity Federations หรือ WOF) คาดการณ์ว่า ปี 2573 ประชาชนไทยที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี จะมีภาวะอ้วนและน้ำหนักเกินสูงถึงร้อยละ 30 ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนและโรค NCDs และเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในอนาคต


     โดย (ร่าง) พ.ร.บ.ควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก ประกอบด้วย 9 มาตรการหลัก คือ
    1) ฉลาก ต้องไม่ใช้เทคนิคดึงดูดเด็ก (เช่น การ์ตูน ดารา) และควรแสดงสัญลักษณ์กำกับที่เข้าใจง่าย
    2) ควบคุมการแสดงความคุ้มค่าด้านราคา
    3) ควบคุมการจำหน่ายในสถานศึกษา ระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา
    4) ควบคุม การโฆษณา ทุกช่องทาง
    5) ควบคุม การแลก แจก แถม ให้ ชิงโชค ชิงรางวัล ส่งฟรี
    6) การมอบหรือให้ สิ่งของ อุปกรณ์ ของใช้ หรืองบประมาณในการจัดกิจกรรมใดจะต้องไม่เชื่อมโยงถึงอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก
    7) การบริจาค อาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กในสถานศึกษาและสถานที่ศูนย์รวมของเด็ก
    8) การจัดตั้งกลุ่ม ชมรม ชุมชนออนไลน์ จะต้องไม่เชื่อมโยงถึงอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก และ
    9) การติดต่อ ชักชวน หรือจูงใจเด็ก ทั้งทางตรงและทางอ้อมจะต้องไม่เชื่อมโยงถึงอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก
กรมอนามัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

กลับขึ้นด้านบน

Thaiza update: